ทำไมต้องเลือกใช้ " ฉนวนกันความร้อนโพลีเอสเตอร์ "
  • 2 กรกฎาคม 2018 at 16:27
  • 10364
  • 0

  

ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ความร้อนมาเยือนทุกคนจึงเลือกมองหา ฉนวนกันความร้อนเป็นการแก้ปัญหา โดยทั่วไปตลาดในประเทศไทยมีฉนวนกันความร้อนอยู่หลายประเภท เช่น ใยแก้ว ใยหิน แร่ เยื่อกระดาษ โฟม เป็นต้น โดยมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป 

ประเภทของ ฉนวนกันความร้อน ?

ฉนวนกันความร้อน ในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลายชนิด เช่น ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiber glass), ฉนวนฉนวนกันความร้อนเยื่อกระดาษ (Cellulose), ยิบซั่มบอร์ด, แผ่นสะท้อนความร้อน(Aluminium foil), ยิบซั่มบอร์ดรวมกับแผ่นสะท้อนความร้อน, เซรามิกเคลือบผิว, ฉนวนโฟมพอลิยูรีเทน(Polyurethane foam) ฉนวนกันความร้อนโฟมพอลิเอทิลีน (Polyethylene foam) ฉนวนกันความร้อนโฟมพอลิสไตรีน (Polystyrene foam) เป็นต้น การเลือกใช้งานฉนวนกันความร้อน ควรพิจารณาจากประสิทธิภาพฉนวนกันความร้อนในการต้านทานความร้อน (ค่าR) มีหน่วยเป็น ตารางเมตร-องศาเคลวินต่อวัตต์ (Thermal resistance – R value, m2K/W) สภาพการนำความร้อน (ค่า K) มีหน่วยเป็น วัตต์ต่อเมตร-องศาเคลวิน (Thermal conductivity – K value, W/m.K) ซึ่งฉนวนความร้อนที่ดีต้องมีค่าความต้านทานความร้อนสูงสัมประสิทธิ์ของการนำความร้อนต่ำ

นอกจากนั้น ควรพิจารณาถึงความจำเป็น ในการติดตั้งของ ฉนวนกันความร้อนแต่ละสถานที่ และช่วงอุณหภูมิในการใช้งานของสถานนั้นๆ รวมถึง ลักษณะการติดตั้งฉนวนกันความร้อน  ราคาค่าติดตั้ง การยืดตัวและการหดตัวของฉนวนความร้อนเมื่อได้รับความร้อน โดยธรรมชาติแล้ว ความร้อนจะเคลื่อนที่จากที่อุณหภูมิสูง ไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำเสมอ หลักการทำงานของ ฉนวนกันความร้อนก็คือทำหน้าที่ชะลอการเคลื่อนที่ของความร้อนนี้ ซึ่งวัสดุฉนวนกันความร้อน ที่ใช้งานกันทั่วไปได้แก่ อลูมิเนียมฟอยล์ พียูโฟม ใยแก้ว และใยหิน ฯลฯ แต่ก่อนที่เราจะทำการเลือกวัสดุฉนวนกันความร้อน สำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย อาคารสถานที่ต่างๆ โรงงาน เราจะมาทำความรู้จักกับ คุณลักษณะเฉพาะของวัสดุฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิดกัน

• ฉนวนกันความร้อนอลูมิเนียมฟอยล์ จะมีความมันวาวของผิวแผ่นฟอยล์ มีคุณสมบัติในการสะท้อนความร้อน ข้อดีคือทนความชื้นไม่ติดไฟและไม่ลามไฟไม่ฉีกขาดง่าย

• ฉนวนกันความร้อนแบบโฟม เช่น ฉนวนกันความร้อนโฟมพอลิเอทิลีน ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลียูรีเทนหรือพียูโฟมมีข้อดีคือ สามารถคงสภาพเพิมได้แม้จะโดนน้ำหรือความชื้น ทนทานต่อกรดและด่าง น้ำหนักเบาแข็งแรง

• ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว หรือที่รู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า ฉนวนกันความร้อนไมโครไฟเบอร์ มีโพรงอากาศเล็กๆ จำนวนมหาศาล ซึ่งแทรกอยู่ระหว่างเส้นใยแก้ว จะทำหน้าเก็บกักความร้อนไว้ และลดการส่งผ่านความร้อนจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง นอกจากนี้โพรงอากาศเล็กๆ เหล่านั้นสามารถลดทอน พลังงานเสียงที่ผ่านเข้ามาให้เหลือพลังงาน ที่สะท้อนออกไปน้อยลง วัสดุฉนวนกันความร้อนใยแก้วจัดเป็น ฉนวนกันความร้อนและดูดซับเสียงที่มีประสิทธิภาพ มีความอ่อนตัว และคืนตัวดี สามารถทนไฟได้ประมาณ 300 องศาเซลเซียส ปัจจุบันยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าใยแก้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่จึงยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป

• ฉนวนกันความร้อนใยหิน จัดเป็นเส้นใยจากธรรมชาติที่ไม่มีสารประกอบของแอสเบสตอส (Asbestos) จึงปลอดภัยต่อสุขภาพ คุณสมบัติในการกันความร้อน และดูดซับเสียง เทียบเท่ากับฉนวนกันความร้อนใยแก้ว แต่สามารถทนไฟได้ดีกว่าทั้งวัสดุฉนวนชนิดใยแก้วและใยหินมีข้อด้อยคือไม่ทนทานต่อความเปียกชื้น

• ฉนวนกันความร้อนประเภทโฟม ซึ่งมีหลายชนิดหลายประเภท ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลียูรีเทน หรือฉนวนกันความร้อนพียูโฟมเป็นฉนวนที่กันความร้อนได้ดีมาก เมื่อเปรียบเทียบกับฉนวนชนิดอื่น ๆ โดยทั่วไปฉนวนพียูโฟมจะไม่ดูดซับความชื้น แต่เนื่องจากโฟมมีจุดหลอมเหลวต่ำ เมื่อโดนความร้อนสูงเป็นเวลานานๆ โฟมจะเปลี่ยนรูป เช่น บิดงอ บุบสลาย หรือไหม้ไปในที่สุด แต่ในบ้านเราทั่วๆ ไป มักจะไม่มีอุณหภูมิสูงถึงระดับนั้น ยกเว้นกรณีที่มีการนำฉนวนพียูโฟม ไปใช้บุหลังกระจกโดยตรง เช่น กระจกหน้าต่างจะทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส ซึ่งฉนวนพียูโฟมไม่สามารถคงสภาพเดิมเอาไว้ได้ นอกจากนี้มีความจำเป็นต้องป้องกันการถูกทำลาย เนื่องจากรังสีอัตราไวโอเลต (UV) จากรังสีดวงอาทิตย์

เราจะเริ่มแนะนำ ฉนวนกันความร้อนอีกประเภท คือ ฉนวนกันความร้อนโพลีเอสเตอร์ ที่ผลิตจากเส้นใย Recycle Polyester Polyethylene Terephthalate (PET) เป็นเส้นใยชนิดเดียวกันกับเส้นใยที่ใช้ผลิตเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน วัสดุทางการแพทย์ และที่สำคัญยังสามารถนำไปใช้ผลิตภาชนะบรรจุอาหาร  ฉนวนกันความร้อน KOOLTEG Polyester ได้ถูกจัดกลุ่มอยู่ในวัสดุที่ไม่เป็นพิษซึ่งปลอดภัยมากกว่าไม้ ฉนวนกันความร้อน KOOLTEG Polyester ผลิตด้วยกรรมวิธี Thermal Bonding Process ซึ่งจะแตกต่างจากฉนวนประเทภอื่น ๆ ที่ต้องอาศัย Binder ทำให้ฉนวนกันความร้อนที่เป็นเส้นใยยึดติดกันเกิดเป็นช่องว่างอากาศขนาดเล็กจำนวนมาก (Air Pocket) การที่มีช่องว่างของอากาศจำนวนมากทำให้ ฉนวนกันความร้อน KOOLTEG Polyester มีค่าการนำความร้อนต่ำเพียง 0.032 – 0.042 W/m.K (24 °C) มีคุณสมบัติในการเป็น ฉนวนกันความร้อน koolteg ที่ดีเยียม ในช่วงอุณหภูมิใช้งานระหว่าง -40 °C ~ 150 °C ช่วยประหยัดพลังงาน

 

 

ฉนวนกันความร้อน koolteg ยังมีคุณสมบัติป้องกันเสียงจากภายนอก และดูดซับเสียงจากภายใน ฉนวนกันความร้อน koolteg polyester ฉนวนกันความร้อนสีขาว  koolteg ฉนวนกันความร้อนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่สุขภาพ ไม่ระคายเคืองต่อการสัมผัส ฉนวนกันความร้อน koolteg เหมาะสำหรับ หลังคาโรงพยาบาล หลังคา สถาบันศึกษา หลังคาอุตสาหกรรมอาหารและยา หลังคาโรงงานศูนย์กระจายเสียง หลังคาโรงแรม หลังคาศูนย์การค้า หลังคา อาคารสำนักงาน และหลังคาบ้านพักอาศัย